ตะลุ่งตุ้งแช่ ตอน 2

ขาดแมกนีเซียม ส่งกายวิกฤติป่วน!
ด่วน! พระเอกขี่ม้าเขียวมาช่วยแล้ว

 

 

          ตะลุ่งตุ้งแช่ ตอน ๒ มาเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิดไว้ - - ใช่มั้ยล่ะ?

          เพราะตอนนี้มีข่าวด่วน ที่ อ.สุทธิวัสส์ คำภา ท่านสื่อสารผ่านรายการวิทยุ “สุขภาพดีวิถีไทยกับสมุนไพรปัญจศรี” เมื่อไม่กี่วันก่อน
          ดูเหมือนจะเป็นปัญหาสุขภาพหลักของปวงชนชาวไทยในขณะนี้ ซะด้วยซี และ เป็นสิ่งที่พวกเราละเลยกันมานาน กับแร่ธาตุตัวดีที่ชื่อว่า “แมกนีเซียม”

          อ๊ะ! ดูเหมือนจะเคยได้ยิน ดูเหมือนจะคุ้นหูกันบ้าง แต่กลับห่างไกลตัวเราเหลือเกิน
เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่ากินแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก แล้วเราก็รับประทานแคลเซียมเม็ดกันเอิกเกริก จนเจ้าแมกนีเซียมมันน้อยใจ ขอออกโรงมาร้องเตือนตะลุ่งตุ้งแช่กันบ้าง

อันว่าข้อดีหรือประโยชน์ของแมกนีเซียม มีดังนี้

  1. เป็นตัวสร้างพลังงานให้กับเซลล์
  2. เป็นตัวกระตุ้นให้เอนไซม์กว่า ๓๐๐ ชนิดในร่างกาย ทำงานได้อย่างราบรื่น
  3. ป้องกันโรคหัวใจวาย การหมดสภาพของนักกีฬา
  4. ช่วยลดไขมันในเลือด
  5. ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  6. ช่วยในการผลิตสารซีโรโทนิน และเมลาโทนินในต่อมใต้สมอง
  7. ป้องกันโรคมะเร็ง เพราะเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ
  8. ป้องกันอาการทางด้านโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ฟันผุ กระดูกพรุน อ่อนเพลียเรื้อรัง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการสั่น
  9. ป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือนของสตรี
  10. ป้องกันอาการทางด้านจิตประสาท เช่น ซึมเศร้า เครียด ปวดหัวข้างเดียว นอนไม่หลับ ทนเสียงดังไม่ได้

โอ้โห! นับข้อดีได้ถึง ๑๐ ข้อขนาดนี้  แล้วเราจะไปหาซื้อ “น้อง
แมกฯ” ได้ที่ไหนล่ะเนี่ย??  ไอ้แบบเม็ด ๆ ที่เป็นเคมีสกัด ก็กลัวผลข้างเขียง เอ๊ย-ข้างเคียง ที่ทำให้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ไม่มีแรง
ไม่ต้องกังวล ... งานนี้พระเอก “ขี่ม้าเขียว” มาช่วยแล้ว


แต่น..แตน..แต๊น!!


พืชผักสมุนไพรที่มีแมกนีเซียมมากสุด ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว
(Green Okra)  บางที่ก็เรียก กระเจี๊ยบขาว กระเจี๊ยบมอญ ดาบมอญ มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทราย มะเขือขื่น ... มีส่วนประกอบสำคัญที่ร่างกายต้องการ คือ แมกนีเซียม แคลเซียม โปแตสเซียม เพคติน ฯลฯ  ถ้ากินได้วันละ ๑๐ ฝัก รับรองไม่มีขาดน้องแมกฯ แน่นอน

          อันดับ ๒ คือ กะหล่ำปลี (Cabbage) มีสารอาหารสำคัญ เช่น แมกนีเซียม โปแตสเซียม เหล็ก กรดอะมิโน ฯลฯ (ผู้เป็นโรคไทรอยด์ ไม่ควรกินมาก)

กะหล่ำปลี
          อันดับ ๓ คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nut) มีสารอาหารสำคัญ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว และโปรตีน

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
          อันดับ ๔ ใบหม่อนและลูกหม่อน (Mulburry) มีสารสำคัญ เช่น แมกนีเซียม กาบา แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม เหล็ก และสังกะสี

ลูกหม่อน
          อันดับ ๕ ผักโขม (Spinach) หรือผักป๊อปอาย มี แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตะมินเอ วิตะมินซี เหล็ก และกรดอะมิโน
  ผักโขม

อันดับ ๖ ถั่วแดง  (Red Bean) อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ไฟเบอร์ และกรดโฟลิก

ถั่วแดง

อาจารย์บอกว่า...ในต่างประเทศมีการนำแร่ธาตุแมกนีเซียมมาผสมในน้ำดื่มกินกันอย่างแพร่หลาย  (คำเตือน-ผู้เป็นโรคไตไม่ควรกินเกลือแร่เสริมทุกชนิด!)

          อย่างไรก็ดี เราควรได้รับแมกนีเซียมเสริมจากผักใบเขียวให้มากขึ้น มีนักวิชาการท่านหนึ่งได้เปรียบเทียบเอาไว้ว่า สีเขียวของพืชมีแมกนีเซียมสัมพันธ์กับสีแดงของเลือดที่มีเหล็ก
ผักสีเขียว
          เพราะสีเขียวของใบไม้คือคลอโรฟิล สีแดงของเลือดคือฮีโมโกลบิน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ  เพราะมีโครงสร้างของโมเลกุลเป็นรูปวงแหวนพอไฟรินเหมือนกัน  จะแตกต่างกันตรงอะตอมกลางวงแหวนเท่านั้น
          การบริโภคผักใบเขียว เราจึงได้ประโยชน์จากคลอโรฟิลของผักคือแมกนีเซียม และยังได้โครงสร้างวงแหวนพอไฟรินไปบำรุงเลือดโดยไปช่วยสร้างฮีโมโกลบินอีกด้วย
          ว้าว! อย่างนี้เค้าเรียกว่า “สองเด้ง” ใช่มั้ยคะอาจารย์ขา

(หมายเหตุ – การกินแคลเซียมมากไปจะทำอันตรายต่อไตและเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ข้อสำคัญต้องกินให้สมดุลกันระหว่างแคลเซียมกับแมกนีเซียมในอัตราส่วนสองต่อหนึ่ง)

*ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากคอลัมน์กินดีมีสุข ในหนังสือดวงปะกาศิต เขียนโดย อ.สุทธิวัสส์ คำภา*

(โดย ศิษย์สาย ๒)

อ่านตอนอื่น

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่