พยาธิเขตร้อน (Tropical Parasites)

 โรคพยาธิไส้เดือน  Ascariasis      

โรคพยาธิใส้เดือนตัวกลม Ascariasis เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ แอสคารีส ลัมบิคอยดีส 
(Ascaris  lumbricoides) พบมากในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบมากในพื้นที่ภาคใต้

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก และคอยแย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน มีอายุเฉลี่ยอยู่ประมาณ 
6 เดีอน - 1 ปี แยกเพศออกเป็นชนิดตัวผู้ และชนิดตัวเมียตัวเมียจะออกไข่ประมาณ วันละสองแสนฟอง
ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจจาระถ้าตกลงไปบนพื้นดินที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 25 
องศาเซลเซียส เซลในไข่จะแบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อนได้ภายใน 10 - 21 วัน เมื่อคนกินอาหารที่ปนเปื้อน
ไข่พวกนี้ ( Embryoated egg) เข้าไป ตัวอ่อนพยาธิจะฟักตัวออกมา ไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด
หรือน้ำเหลืองผ่านตับเข้าสู่ หัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร แล้วกลับลงมาสู่ลำไส้เล็กมาเจริญ
เป็นตัวแก่ต่อไป   นับตั้งแต่ได้รับไข่พยาธิเข้าไปจนเติบโตเป็นตัวแก่ที่พร้อมออกไข่ได้กินระยะเวลา
เพียง 2 เดือน


การแพร่กระจายของโรค
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน ในภาคใต้พบการระบาดมากถึง
ร้อยละ 70 เนื่องมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ทำการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือพบได้ประมาณ ร้อยละ 7.5    ภาคกลางและภาคเหนือพบร้อยละ 26.4
โรคนี้พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพฤติกรรมของเด็กมักชอบเล่น เก็บของตามพื้นทาน ถ่าย
อุจจาระบริเวณพื้นรอบๆบ้าน ไข่พยาธิบริเวณนั้นอาจติดมือเด็กและถูกกินเข้าในร่างกาย เมื่อพยาธิ
โตเต็มวัยก็จะปล่อยไข่ปนออกมากับอุจจาระแพร่กระจายให้คนยอื่นต่อไป

อาการและลักษณะทางคลีนิค
-  อาการช่วงที่ตัวอ่อนพยาธิกำลังเดินทาง
ในขณะที่พยาธืตัวอ่อนเดินทางผ่านผนังลำไส้ไปยังปอดนั้น ถ้ามีจำนวนมากจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ไอ
หายใจแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ไออาจมีเสมหะปนเลือด บางครั้งอาจมีตัวพยาธิออกมาด้วย   นอก
จากนี้ยังเกิดอาการลมพิษ จำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง   อาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ เรียก
Loeffer's syndrome ( Ascaris pneumonia)


- อาการเกิดจากพยาธิตัวแก่
พยาธิตัวแก่จะคอยแย่งอาหารในลำไส้เล็กกิน ดังนั้นในเด็กที่มีพยาธิเป็นจำนวนมากจะเกิดการขาด
อาหารได้ โดยเฉพาะพวกโปรตีน บางรายอาจมีอาการคัน ลมพิษ หน้าบวมในกรณีที่มีพยาธิมากอาจ
ไปจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดอาการลำไส้อุดตันได้ จะมีอาการปวดท้องแบบโคลิค อาเจียน ท้องอืด  
ถ่ายลำบาก เป็นต้น
ในบางครั้งพยาธิอาจเดินทางเข้าไปในกระเพาะอาหาร   ผู้ป่วยอาจอาเจียนเอาตัวแก้พยาธิออกมาได้   
บางรายพยาธิอาจไชเข้าไปในรูไส้ติ่งทำให้เกิด ใส้ติ่งอักเสบได้

การตรวจวินิจฉัยโรค
- พบพยาธิตัวแก่หลุดปนออกมากับอุจจาระหรือสิ่งอาเจียน
- ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ


การรักษา
1. Mebendazone (Fugacar) ยานี้ในรูปแบบยาเม็ด มีตัวยา 100 มิลลิกรัม/เม็ด ให้ทานในช่วงเช้า
และเย็น เป็นเวลา 3 วัน ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 1 - 3 เดือนแรก
2. Pyrantel pamoate (Combantrin) เป็นยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัม/เม็ด ใช้ขนาดยา 10 มิลลิกรัม
ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ครั้งเดียว
3. Levamisole ( Decaris) ประกอบด้วยตัวยา Levotetramisole ทำเป็นเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัม 
สำหรับเด็ก และขนาด 150 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่ ขนาดยาที่ใช้ 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโล
กรัม ให้เพียงครั้งเดียว
สำหรับรายที่มีการอุดกั้นลำไส้ ถ้าอุดกั้นเพียงบางส่วนให้รักษาตามอาการเช่น ใช้สานสวนดูดลมออก 
อาการอาเจียน ท้องอืดก็จะทุเลา แต่ถ้าอุดกั้นมากก็จำเป็นต้องใช้วิธีศัลยกรรม


การป้องกัน
- ถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายลงพื้นเรี่ยราด
- ให้เการศึกษาแก่ประชาชนให้เข้าใจถึงสุขอนามัย   วงจรชีวิตของพยาธิ   ล้างมือก่อนทานอาหาร
ตัดเล็บให้สั้นเรียบร้อย   ล้างผักที่จะใช้ทานให้สะอาดก่อน
- ถ่ายพยาธิให้ผู้ป่วยทันทีทุกคนในละแวกบ้าน

 

 



  โรคพยาธิเส้นด้าย/เข็มหมุด  Enterobiasis      

โรคพยาธิเส้ยด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ เอ็นเทอร์โรเบียส เวอร์มิคูลาลีส
(Enterobius vermicularis) พบระบาดได้ทั้งในเขตร้อนและหนาว พบมากในเด็ก โดยเฉพาะเด็กใน
วัยเรียน

วงจรชีวิตพยาธิ
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในช่วงต้นๆของลำไส่ใหญ่และตอนปลายๆของลำไส้เล็ก   ตกกลางคืนพยาธิตัวเมีย
จะคลานมาใกล้บริเวณรูทวาร   ออกมาวางไข่แล้วก็ตาย ไข่จะติดอยู่บริเวณก้น เสื้อผ้า กางเกง ที่นอน
ผ้าปูที่นอน ไข่ที่ออกมานี้จะเจริญต่อไปเป็นระยะติดต่อภายในเวลา 24-36 ชั่วโมง   เมื่อผู้ป่วยเกาก้น
ไข่พยาธิจะติดไปตามมือ เล็บ  เมื่อใช้มือจับอาหารรับประทานเข้าปากก็จะกินเอาไข่พยาธิเข้าไปด้วย
เด็กบางรายติดนิสัยชอบดุดนิ้วก็เช่นกัน    ไข่พยาธิที่ถูกกินเข้าไปจะเจริญต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อนและ
เจริญเติบโตต่อไปในลำไส้เล็ก   หลังจากผสมพันธิ์แล้วพยาธิตัวแก่ก็จะตายไป ส่วนตัวเมียจะเดินทาง
มาอยู่ยังบริเวณลำไส้ใหญ่ตอนต้นแล้วคลานออกมาวางไข่ในเวลากลางคืน

การแพร่กระจายของโรด
โรคนี่ติดต่อได้ง่าย มักพบว่าเวลาเป็นมักเป็นกันทั้งครอบครัว หรือที่ที่มีคนอยู่กันเป็นหมู่ เช่น โรงเรียน
เด็กมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ใหญ่   ในเด็กนักเรียนพบได้ประมาณร้อยละ 50 การติดต่อมีดังนี้
- พบได้บ่อยที่สุดคือการกินเอาไข่พยาธิเข้าไป โดยติดตามมือ เล็บ จากการเกาเพราคันรูทวาร
- ผู้ป่วยกินไข่ที่ติดตามเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าปูที่นอน
- ได้รับไข่พยาธิที่ปลิวอยู่ในอากาศ
- ไข่พยาธิฟักเป็ฯตัวอ่อนที่บริเวณทวารแล้วไชกลับเข้าไปเจริญเป็นตัวแก่

อาการและลักษณะทางคลีนิค
มักไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากจะเป็นอาการคนทวารในเวลากลางคืน ทำให้เด็กนอนไม่ค่อยหลับ 
ร้องกวน   ถ้าเกามากอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย   ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร หงุดหงิด 
น้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อยในเพศหญิงอาจพบการอักเสบของปากช่องคลอดร่วมได้ด้วย

การวินิจฉัยโรค
- ตรวจพบไข่พยาธิบริเวณทวานหนัก โดยใช้วิธีสก็อตเทป เทคนิค โดยการใช้แผ่นเทปใสที่ปากทวาร
หนัก ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน แล้วนำไปตรวจหาไข่พยาธิด้วยกล้องจุลทรรศน์
- พบพยาธิตัวแก่ที่บริเวณทวารหนัก

การรักษา
1. ป้องกันการติดต่อ โดยการรักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ล้างมือ 
ตัดเล็บ ทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เป็นการตัดวงจรในการกลับมาติกต่อได้ใหม่ เพราะพยาธิ
จะมีชีวิจอยู่ได้นานประมาณ 3 -6 สัปดาห์
2. การให้ยาถ่ายพยาธิ
- Piperazine ใช้ขนาดของยาประมาณ 50-75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 7 วัน
- Mebendazon  (Fugacar) ให้ทานขนาด 100 มิลลิกรัม กินครั้งเดียว ได้ผลดีมาก
- Pyrantal pamonate ( Combantrin) ใช้ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพียงครั้ง
เดียว

การป้องกัน
1. รักษาสุขอนามัย โดยหมั่นทำความสะอาดที่นอน ผึ่งแดด เสื้อผ้า   รักษาความสะอาดของร่างกาย 
รวมถึงห้องน้ำ พื้น
2. ให้ยาถ่ายพยาธิกับทุกคนในบ้าน โดนเฉพาพยาธิเส้นด้ายนี้มีโอกาสกลับมาติดใหม่ได้สูง

 

 

 

  โรคพยาธิปากข  Hookworm Disease      

พยาธิปากขอที่เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในคนมี species  คือ
- Necator americanus          นีคาเตอร์ อเมริกานัส
- Ancylostoma duodenale    แอนไซโลสโตรมา ดูโอดินาเล่
ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือด และมีอาการต่างๆของโรคโลหิตจางเป็นอาการสำคัญ  สำหรับประเทศไทยเราพบ
ว่า ชนิด Necator ระบาดมากกว่า Ancylostoma พบได้ทุกภาคของประเทศ แต่ที่พบมากสุดจะเป็นทาง
ภาคใต้

พยาธิปากขอชนิด Necator ตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 6000 - 20000 ฟอง ส่วนชนิด 
Ancylostoma ตัวเมียออกไข่ 25000 - 30000 ฟอง/วัน ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ
และความชื้นที่เหมาะสมตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง เป็นตัวอ่อน
ระยะที่หนึ่ง เรียกระยะนี้ว่า แรบดิติฟอร์ม ( Rhabditiform larva) ตัวอ่อนระยะนี้จะเริ่มลอกคราบและ
เปลี่ยนไปเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง ใช้ระยะเวลาช่วงนี้ประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นอีกประมาณ 3-5 วัน ก็จะ
เติบโตกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่สาม เรียกตัวอ่อนในระยะนี้ว่า ฟิลาริฟอร์ม ( filariform larva) ซึ่งจัดเป็น
ระยะติดต่อมาศู่คนโดยสามารถไชทะลุผิวหนังเข้าสู่ร่างกายคนได้ ถ้าคนเดินเท้าเปล่า โดยจะไชเข้าทาง
บริเวณผิวหนังอ่อนเช่นง่ามเท้า เข้ามาในร่างกายเดินทางต่อตามท่อน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด  เข้าสู่
หัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร ลงมาสู่กระเพาะอาหาร มาสุดที่ลำไส้เล็ก  และเจริญเติบโต
เป็นตัวแก่ต่อไป

การกระจายของโรคพยาธิปากขอในประเทศไทย
เนื่องจากไทยเป็นประเทศกสิกรรมในเขตร้อนทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมมากสำหรับการ
เจริญเติบโตของพยาธิปากขอ คนที่อยู่ตามเรือกสวน ไร่นา ที่มีการศึกษาน้อย     หรือไม่ถูกสุขอนามัย 
มักถ่ายอุจจาระไม่เป็นที่เป็นทางตามพื้นดิน ตามสุ่มทุมพุ่มไม้ และไม่นิยมสวมรองเท้า จึงมักเป็นโรค
นี้กันมาก จากการศึกษาพบว่า ภาคใต้เป็นมากที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศ ร้อนชื้นตลอดไม่ค่อยเปลี่ยน
แปลง พื้นดินในสวนยาง สวนผลไม้ มีความร่มรื่น ทำให้มีความชื้นแฉะตลอดทั้งปี คนที่ทำอาชีพสวนยาง
จะต้องตื่นแต่เช้ามืด เดินเท้าเปล่าไปกรีดยางจากต้นยางในสวนยาง    และมีการถ่ายอุจจาระไม่เป็นที่
เป็นทางตามพื้นดิน ตามสุ่มทุมพุ่มไม้ จึงทำให้มีโอกาสพบการระบาดในพื้นที่ภาคใต้มากกว่าภาคอื่นๆ


อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
เมื่อพยาธิไชเข้าทางง่ามเท้า จะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีการอักเสบเป็นตุ่มแดงและคันเรียกอาการนี้ว่า
ground itch ถ้าผู้ป่วยเกาบริเวณนั้นมากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ต่อมาประมาณ 
1-2 อาทิตย์ เป็นระยะเวลาที่พยาธิปากขอเดินทางผ่านบริเวณปอด ทำให้เกิดหลอดลมหรือปอดอักเสบ
ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีไข้ จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูง
เมื่อพยาธิมาถึงลำไส้และเจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว จะทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบาาย แน่น จุกเสียดท้อง
โดยเฉพาะบริเวณยอดอก   อาจถึงกับปวดท้องได้ 
ที่สำคัญคือพยาธิจะดูดเลือดทำให้ร่างกายเสียเลือดมาก จะเกิดอาการ ซีด อ่อนเพลีย มึนงง เหนื่อยง่าย
แน่นหน้าอก ซีด บวมได้  ในเด็กที่มีพยาธิประมาณ 100 ตัวขึ้นไป จะมีอาการซีดและปัญญาทึบ หรือถ้า
นับไข่ได้ประมาณ 2000-2500 ใบต่ออุจจาระ 1 กรัม ถือว่าจะเริ่มทำให้ซีดได้

การวินิจฉัยโรค
การตรวจพบไข่พยาธิเป็นการวินิจฉัยที่แน่นอน   ไม่ควรครวจอุจจาระที่ทิ้งไว้ข้ามวัน เพราะถ้าเกิน 24
ชั่วโมงไปแล้ว ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนได้


การรักษา
การรักษาตามอาการทั่วไปถ้าซีดให้บำรุงโดยให้สารเหล็ก ferrous sulphate 200-400 mg ทานวันละ
3 เวลา จนระดับฮีโมโกลบินเริ่มขึ้นมาใกล้ระดับปกติจึงจะเริ่มให้ยาถ่ายพยาธิ   การถ่ายพยาธิ
- มะเกลือ ( Diospillos moris) ใช้ปริมาณ 1 ผลต่ออายุ 1 ปี โดยมากที่สุดไม่เกิน 25 ผล ตำคั้นเอาน้ำ
เอาน้ำที่คั้นได้ผสมกับหัวกะทิ ให้รับประทานตอนเช้ามืด
- Pyrantel pamoate ( Cambantrim) ชนิดเม็ดขชนาดเม็ดละ 125 มิลลิกรัม ขนาดที่ใช้ในการรักษา
10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมให้วันละครั้ง เป็นเวลา 2 วันจะให้ผลการรักษาดีกว่าให้ครั้ง
เดียว
- Mebendazole ( Fugacar) ขนาดเม็ดละ 100 มิลลิกรัม ให้ครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน

การป้องกัน 
1. ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน
2. ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถ่ายแล้วโรยทับด้วยปูนขาวจะช่วยได้
3. รักษาด้วยยาถ่ายพยาธิอย่างถูกวิธี
4. หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นดินที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า  

 

 


  โรคพยาธิแส้ม้   Trichuriasis      

โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคหนอนพยาธิที่เกิดจากพยาธิชนิด Trichuris trichiura      และเนื่องจากพยาธิ
ชนิดนี้มีส่วนคล้ายแส้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Human whip worm  พบได้ทั่วโลก สำหรับประเทศไทย
พบมากในภาคใต้ ประมาณร้อยละ 38   ภาคกลางประมาณร้อยละ 3.3   ภาคเหนือประมาณร้อยละ 5.2
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 2.4

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่าซีคั่ม พยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ
3000 - 7000 ฟอง ต่อ 1 ตัว    ไข่จะปนออกมากับอุจจาระและตกลงสู่พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิและความชื้น
เหมาะสม ไข่จะเจริญต่อไปเป็นไข่ในระยะติดต่อ (มีตัวอ่อนภายในไข่ ) ภายในเวลาประมาณ   3 - 6 
อาทิตย์ หรือถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอาจใช้ระยะเวลานานกว่านี้ เมื่อคนกินเอาไข่ระยะติดต่อเข้า
ไป เปลีอกไข่จะถูกย่อยโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร พยาธิตัวอ่อนจะออกมาแล้วจะเจริญเติบโตเป็นตัว
แก่ในลำไส้ต่อไป การเกาะโดยการใช้หัวและลำตัวส่วนหน้าเกาะฝั่งอยู่ในเยื่อบุลำไส้ นับตั้งแต่กินไข่
พยาธิระยะติดต่อจนพยาธิเติบโตเป็นตัวแก่กินระยะเวลานาน 3 เดือน

อาการและลักษณะทางคลีนิค
ถ้ามีพยาธิน้อยมักไม่มีอาการอย่างใด ในกรณีที่มีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมาก อาจมีอาการ เช่น ปวดท้อง 
คลื่นไส้ อาเจียน  ท้องเดิน หรืออุจจาระเป็นมูกเลือด ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ทั้งนี้เพราะการที่พยาธิ
ฝั่งหังส่วนหน้าเข้าไปในเยื่อบุลำไส้ทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลติดเชื้อแบคที่เรียได้

ในเด็กที่เป็นรุนแรง อาจมีลำไส้ส่วนเร็คตั้มปลิ้นออกมา พร้อมกับมีพยาธิตัวแก่เกาะติดอยู่กับเยื่อบุลำไส้
หรือพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในไส้ติ่ง จึงอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องทางด้านขวาคล้ายไส้ติ่งอักเสบได้

การวินิจฉัย
การตรวจพบไข่พยาธิแส้ม้าในอุจจาระ

การรักษา.
การรักษายังให้ผลไม่ค่อยดีนัก ยาถ่ายที่นิยมใช้มีดังนี้
1. Thiabendazole ( Mintezol ) เป็น broad spectrum antihelminthic อาจมีอาการข้างเคียงบ้าง 
เช่น วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร        ขนาดยาให้ผู้ป่วย 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
หลังอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน
2. Mebendazole ( Fugacar ) ขนาดยา 100 มิลลิกรัม ต่อ เม็ด โดยให้เช้าและเย็นเป็นเวลา 3 วัน 
ไม่ค่อยมีฤิทธ์ข้างเคียง ให้ผลดี

การป้องกัน
- ถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายเรี่ยราด
- ให้เข้าใจถึงการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะพวกผักต้องล้างให้สะอาด หรือที่ทำให้สุก   โดยเฉพาะพวก
ผักที่ใช้มูลมาเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก
- ล้างมือและเล็บให้สะอาด
- ศึกษาวงจรชีวิตของพยาธิ

 

 

 

  โรคพยาธิสตรองจีรอยด์   Strongyloidiasis      

โรคพยาธิสตรองจีลอยด์ เป็นโรคพยาธิที่มีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิชนิด สตรองจีลอยด์ สเตอโคลาลีส  
( strongyloides stercoralis ) พบได้ทั่วไปในโรคเขตร้อน สำหรับประเทศไทยพบมากในเขตภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวเมียของ สตรองจีลอยด์ สเตอโคลาลีส  ( strongyloides stercoralis ) ฝังอยู่ในเยื่อบุของ
ลำไส้เล็กโดยเฉพาะแถวดูโอดีนั่มและเจจูนั่ม  ออกไข่แล้วตัวอ่อนในไข่เจริญเติบโต ฟักออกจากไข่
เป็นตัวอ่อน rhabditiform larva อยู่ในลำไส้ ตัวอ่อนนี้จะถูกถ่ายปนออกมากับอุจจาระ จากนั้นวงจรชีวิต
เป็นไปได้หลายแบบดังนี้
1. แบบธรรมดา rhabditiform larva   ที่ถ่ายปนออกมากับอุจจาระ จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวอ่อน
ระยะ filariform larva โดยตรง และเป็นระยะติดต่อไชทะลุผิวหนังคนเข้าสู่วงจรเลือด ผ่านหัวใจ ปอด
หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร แล้วกลับมาสู่ลำไส้ เจริญเติบโตเป็นตัวแก่ต่อไป
2. แบบอิสระ พยาธิดำรงชีวิตอยู่นอกภายนอกร่างกายโดยไม่ต้องอาศัยโฮสท์ เป็นการเจริญเติบโตโดย
ทางอ้อม คือตัวอ่อน rhabditiform larva เจริญไปเป็นตัวแก่ ตัวผู้และตัวเมียผสมกันแล้วออกไข่ตาม
พื้นดิน ตัวอ่อนจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนชนิด rhabditiform larva หมุนเวียนกันไป บางส่สวนเจริญต่อ
ไปเป็นระยะ filariform larva แล้วไชเข้าผิวหนังคนเข้าไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้ต่อไป
3. ติดเชื้อจากตัวเอง   ผู้ป่วยที่ได้รับพยาธินี้จากตนเองโดยตัวอ่อน rhabditiform larva เจริญไปเป็น
ระยะ filariform larva ภายในลำไส้หรือบริเวณทวารหนักแล้วตัวอ่อนระยะติดต่อนี้ไชกลับเข้าไปในตัว
ผู้ป่วยอีก

อาการและลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่ในรายที่มีมากอาจเกิดอาการดังนี้
- อาการทางผิวหนัง มีได้สองแบบ  แบบที่หนึ่งเป็นลมพิษ คัน จากปฏิกริยาไวเกิน   แบบที่สอง เป็นแบบ
creeping eruption คือพยาธิไชเป็นทางตรงหรือคดเคี้ยวใต้ผิวหนัง
- อาการทางระบบหายใจ   พบได้น้อย ในบางโอกาสผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบ ในช่วงที่พยาธิเดินทาง
ผ่านปอด
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร   มีได้ตั้งแต่ ปวดท้อง คลื่นไส้   อาเจียน ท้องเดิน จนกระทั้งการดูด
ซึมอาหารผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพอ่อนแอมาก อาจมีอาการรุนแรงได้มาก คือมีอาการท้องเดินรุนแรง  
ขาดอาหาร บวม ตับโต

การวินิจฉัยโรค
การพบตัวอ่อนระยะ rhabditiform larva ปนออกมากับอุจจาระที่เพิ่งถ่ายออกมาใหม่ๆ

การรักษา
ยาถ่ายพยาธิในปัจจุบัน
1. Thiabendazole ( Mintezol)  เป็นยา broad spectrum anthelminthic ขนาดรับประทาน 25
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หลังอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน อาจมีอาการแทรกซ้อน
บาง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน วิงเวียน
2. Mebendazole (Fugacar) ขนาด 100 มิลลิกรัม ต่อ เม็ด ให้รับประทาน เช้าและเย็นครั้งละเม็ด 
เป็นเวลา 3 วัน

การป้องกัน
เช่นเดียวกับพยาธิปากขอ     

 

 

 

  โรคพยาธิตัวจื๊ด   Gnathostomaiasis      

เกิดจากเชื้อพยาธิ Gnathostoma spinigerum (แนตโทสโตมา สไปนิจิรั่ม) พบมากใน ญี่ปุ่น ไทย จีน
อินเดีย มาเลเซีย เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในโพรงก้อนทูมข้างกระเพาะอาหารของโฮสท์ธรรมดา ที่สำคัญคือ สุนัข และ แมว
ไข่ของพยาธิจะออกมาทางรูที่ติดต่อกับกระเพาะอาหารและออกไปกับอุจจาระของสัตว์เหล่านั้น  ไข่จะ
เจริญและฟักตัวออกมาเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ในน้ำ    เมื่อกุ้งไร ซึ่งเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่หนึ่ง
มากินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป   ตัวออ่นพยาธิจะเจริญเติบโตต่อไปในตัวกุ้งไรต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่
สอง   เมื่อพวกสัตว์น้ำจืด เช่น ปลา กบ   สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู   สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่   ซึ่งจัดเป็น
โฮสท์ตัวกลางลำดับที่สองมากินกุ้งไรเข้าไป ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สอง ก็จะเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนพยาธิ
ระยะที่สาม ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อ ในตัวสัตว์เหล่านั้น โดยจะอาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อและมีซิสท์หุ้ม
ตัวอยู่ เมื่อโฮสท์ธรรมดาเช่น สุนัข  แมว มากินเข้าไป   ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สามก็จะออกจากซิสท์ ไช
ผ่านกระเพาะอาหารและผ่านตับอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แล้วในที่สุดจะไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่
ในบริเวณก้อนทูมของกกระเพาะอาหาร

คนจัดเป็นโฮสท์บังเอิญ (Accidental host) กินเอาโฮสท์กลางลำดับที่สอง (สัตว์น้ำจืดเช่น ปลา กบ 
สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่) เข้าไปโดยบังเอิญ โดยทานอย่างดิบๆสุกๆ เช่น ส้มฟัก
ปลาดุกย่าง   พยาธิตัวอ่อนลำดับที่สามก็จะออกจากซีสท์ แล้วเดินทางไปตามที่ต่างๆ แต่จะไม่อยู่ที่
กระเพาะอาหาร เนื่องจากคนเป็นโฮสท์บังเอิญ ทำให้ตัวพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามไม่เจริญเติบโตต่อ
ไปเป็นพยาธิตัวแก่ และไม่ออกไข่

อาการและพยาธิสภาพ
ในคนซึ่งเป็นโฮสท์บังเอิญ พยาธิตัวอ่อนระยะที่สามจะไชเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามที่ต่างๆ เมื่อเคลื่อนที่
ไปอยู่ที่ใดก็ทำให้เกิดมีปฏิกริยาที่ตำแหน่งนั้นๆเมื่อมาอยู่ใต้ผิวหนังจะเห็นได้ชัด คือตรงตำแหน่งที่
มีพยาธิจะบวมแดงๆและรอบๆตัวพยาธิจะถูกห้อมล้อมด้วยเม็ดเลือดขวาชนิดอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวน
มาก   เมื่อพยาธิเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งอื่น ตำแหน่งเดิมที่เคยบวมจะค่อยๆยุบ และย้ายไปบวมใน
ตำแหน่งที่พยาธิอยู่ใหม่ พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปอยู่ได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย     เช่น ตา หู ปอด 
ช่องท้อง สมอง ไขสันหลัง ในช่องท้องพยาธิจะทำให้เกิดก้อนทูม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อพังผืด และ
มีเม็ดเลือดขวาอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก ก้อนทูมนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปตามพยาธิ ในสมองและ
ไขสันหลังพยาธิจะทำลายเนื้อเยื่อสมองจากการเคลื่อนตัวของพยาธิ และมีปฏิกริยาบวมขึ้นเช่นเดียว
กันตรงตำแหน่งนั้น

ลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิจะเดินทางไป ถ้าไปในอวัยวะที่
สำคัญๆ ก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก   ถ้าอยู่ในที่ไม่สำคัญอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย
อาการสำคัญที่ผิวหนังคือ   อาการบวมเคลืาอนที่ เช่นบวมที่มือ แล้วค่อยๆไปบวมที่แขน ไหล่ หน้า
บวมในแต่ละแห่งเป็นอยู่นานประมาณ 3-10 วัน ลักษณะการบวมแดงๆ ตึง มีอาการปวดจื๊ด หรือคัน
อาการทางตา พบว่าพยาธิอาจไชมาอยู่ที่บริเวณหนังตาหรือเข้าไปในลูกตา ถ้าอยู่ที่หนังตาจะทำให้
ตาบวม อาจบวมมากจนตาปิดได้ แต่ถ้าพยาธิไชเข้าไปในลูกตา เช่นใน anterior chamber, vitreous
humour จะทำให้ลูกตาอักเสบ อาจถึงกับตาบอดได้
อาการในช่องท้อง อาจพบก้อนทูมที่เปลี่ยนที่ได้ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายภาวะปวดท้องเฉียบพลัน
ในท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ
อาการทางปอด ถ้าพยาธิไชเข้าไปในทรวงอก จะมีน้ำหรือลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดปอด
อักเสบ ทำให้ไอมีเสมหะหรือเลือดปนได้ บางรายอาจไอจนตัวพยาธิหลุดออกมาได้
อาการทางประสาท หากพยาธิไชเข้าไปในสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดที่มี
จำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง ปวดเสียว
อย่างมากตามเส้นประสาท ง่วง ซึม หมดสติ หรือเป็นอัมพาต อาจถึงตายได้   พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไป
ในหู ทำให้เกิดอาการปวดหูอย่างมาก และอาจพบพยาธิไชออกมาทางรูหู นอกจากนี้ทางระบบปัสสาวะ
และระบบสืบพันธุ์ของสตรีก็พบตัวพยาธุ์ได้
การตรวจทางเลือด พบปริมาณเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง พบปริมาณอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง อาจสูงถึงร้อยละ 80 
ได้   อาการต่างๆข้างต้นจะเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 2-3 อาทิตย์ หรือนาน 2-3 เดือน แล้วอาการ
อาจสงบไม่มีอาการใดๆเป็นเดือนๆ แล้วกลับเป็นขึ้นมาใหม่อีก เป็นเช่นนี้นานได้เป็นปีๆ   ระยะที่ไม่มี
อาการเข้าใจว่าตัวพยาธิเข้าซีสท์ชั่วคราว ในรายที่เข้าสมองอาจทำให้ถึงตายได้

การวินิจฉัยโรค
- ตรวจดูจากประวัติการรับประทานอาหาร
- ลักษณะอาการทางคลีนิค เช่น การปวดบวมแบบเคลื่อนที่ได้
- การตรวจเลือด มีปริมาณเม็ดเลือดขาว   และชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
- การทดสอบทางผิวหนัง   ให้ผลบวก
- สามารถผ่าพบตัวพยาธิได้จากผิวหนัง ก้อนทูม เป็นต้น

การรักษา
ยังไม่มีการรักษาใดๆ ได้ผลดีเท่ากับการผ่าเอาตัวออก โอกาสเช่นตอนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ผิวหนัง โดย
การพ่นบริเวณนั้นด้วย Ethyl chloride ตรงตำแหน่งตัวพยาธิจะช่วยทำให้พยาธิชาหยุดเคลื่อนที่ชั่วคราว
ทำให้ช่วยในการผ่าเอาตัวพยาธิออกได้ง่ายขึ้นยังไม่มียาที่จะใช้ฆ่าหรือทำลายตัวพยาธิได้ ยาพวก
เพรดนิโซโลน ช่วยบรรเทาอาการบวมและคันได้

โอกาสหายขาดก็โดยการผ่าเอาตัวพยาธิออกข้างต้นแล้ว อาจเกิดจากการบังเอิญในช่วงการไอ  หรือ
ตัวพยาธิไชออกมาทางรูหู หรือถูกขับออกมากับ ปัสสาวะในกรณีที่ไชมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ  หรือ
เนื่องจากพยาธิตายไปเอง

การป้องกัน
- ให้ประชาชนทราบถึงวงจรชีวิตของพยาธิ การติดต่อ และผลร้ายของโรค
- ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ เช่นพวก ปลา ( ปลาดุก ปลาช่อน) กบ งู ไก่ เป็ด กุ้ง ปู หนู 
เป็นต้น