ประสบการณ์การใช้เพนดูลั่มของ Diane Stein

บทที่ 6 การตั้งคำถาม (หน้า 2)

 

ข้อมูลทั้งหมดถูกแชร์ให้เทพทุกองค์รู้ และ ถ้าเทพองค์ใดต้องการที่จะรู้อะไรสักอย่าง เธอก็มีแหล่งที่จะเข้าไปหา ข้อมูลได้

ระดับความฉลาดของจิตแห่งเทพเยี่ยงนี้อยู่เหนือกว่าสิ่งที่เราจะเลียนแบบได้ ด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่สิ่งที่จิตกับสมองของเราจะกระทำได้

ดังนั้น คุณคิดว่าการที่เทพไม่ตอบต่อสิ่งที่อยู่ในใจของเรา (แต่ไม่ได้ถามออกมา) นั้น เป็นการเล่นเกมตลก ๆ ของเทพหรือ?

ย่อมมิใช่ !


เทพเทวา สามารถตอบคำถามของเราได้ในกรอบของจริยธรรม และ จะตอบในสิ่งที่เราถามเท่านั้น

ทั้งนี้เป็นเพราะพวกเราจะต้องมีวิวัฒนาการเป็นขั้นเป็นตอน ทีละขั้น ๆ เราจะไปขั้นต่อไปได้ก็ต่อเมื่อเราพร้อมแล้วเท่านั้น

ถ้าเราถามว่าจักรวาลทำงานอย่างไร นั่นก็จะเป็นเพราะเราพร้อมแล้วที่จะทราบ ถ้าเราไม่พร้อมที่จะทราบ มันจะเป็นการผิดจริยธรรมที่จะบอกเรา และ จะทำให้เราสับสนมากขึ้นด้วย เสมือนการสอนวิชาเรขาคณิตให้กับเด็กอนุบาล

ชาวโลกทิพย์ฝ่ายกุศลที่ทำหน้าที่ในการอำนวยคำตอบกับเพนดูลั่มล้วน แต่ต้องเชื่อฟังกฎแห่งวิวัฒนาการนี้

กฎข้อนี้ยังขยายไปถึงผู้ช่วยเหลือเราในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังจิตอ่านชะตา ไพ่ทาโรต์ และงานอื่น ๆ ที่ใช้พลังจิต


แต่บางครั้ง กฎก็อนุญาตให้เทพสะกิดใจเราด้วยการนำข้อมูลบางอย่างผ่านเข้ามาในจิตใจเพื่อ กระตุ้นให้เราตั้งคำถาม

คำถามบางอย่างถูกนำเข้ามาวางในใจเราก็เพราะเราพร้อมที่จะรู้คำตอบของมัน

เทพนำเราไปในทิศทางหนึ่งเมื่อถึงเวลาที่ควรจะทำเช่นนั้น

กฎแห่งวิวัฒนาการมีผลแห่งกรรมสืบเนื่องต่อไปด้วย และ การละเมิดกฎก็เท่ากับว่าเทพองค์นั้นได้ละเมิดกฎแห่งกรรมของเราด้วย ซึ่งอาจจะมีอันตรายเกิดขึ้นกับตัวเราก็เป็นได้

กฎแห่งวิวัฒนาการได้ถูกสร้างขึ้นโดยท่านแม่นาดาผู้สร้าง (Our Creator Nada) และไม่มีชาวโลกทิพย์ฝ่ายกุศลองค์ใดที่จะฝ่าฝืนกฎนี้

เช่นกัน เราไม่พึงขอให้เทพของเรากระทำการที่ฝ่าฝืนด้วย ซึ่งนั่นก็เพื่อประโยชน์ของเราเอง บางทีข้อมูลเล็ก ๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือ ผิดเวลา สามารถกลายเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งยวด

การรู้ว่าจะถามอะไรนั้นก็ถือเป็นข้อบังคับอย่างหนึ่ง

ในแต่ละคำถามที่เราถามจะนำเราก้าวไปทีละขั้นของกระบวนการเรียนรู้

การที่เรารู้ว่าจะต้องถามอะไรนั้นจะสอนให้เราวิเคราะห์ และ คิด เช่นเดียวกับการสอนคอมพิวเตอร์ เราจะให้นักเรียนเรียนบทต่อไปเมื่อเขามีความเข้าใจในบทที่เรียนอยู่ ณ ปัจจุบันดีแล้ว

การที่จะต้องร้องขอในสิ่งที่เราต้องการจะรู้เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการที่เราจะ เรียนรู้ และ การเรียนรู้นี่เองก็เป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ และ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความเป็นเทพของเรา (Our Be-ing)

และ ด้วยกฎแห่งการพลิกผันเมื่อมวลรวมมากพอ (Critical Mass) วิวัฒนาการของเราก็จะกลายเป็นของรวมแห่งทวยเทพ

การเรียนรู้นี้จะต้องทำให้ถูกต้อง คือ เราต้องเรียนรู้อย่างถ่องแท้ไปทีละบท ก่อนที่จะไปสู่บทถัดไป คำถามของเรานั้นจะสะท้อนในสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา เปรียบได้กับสะพานที่เชื่อมระหว่างสิ่งที่เราเรียนรู้อยู่ในตอนนี้กับสิ่ง ถัดไปที่เราพร้อมที่จะรู้

การรู้จักใช้ความคิดในการไตร่ตรองถึงคำถามที่จะถามเพนดูลั่ม เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงระดับชั้นในการพัฒนาของคุณ  เช่น ถ้าคุณถามคำถามโดยไม่ได้มีการไตร่ตรองให้ดี ก็ถือว่าคุณยังไม่พร้อมที่จะก้าวต่อไป

ลองกลับมาทวนความคิดของคุณดูว่า ทำไมคุณถึงกำลังถามคำถามหนึ่ง ๆ ออกมา มันเป็นเพราะว่าคุณต้องการจะสอดรู้สอดเห็นในชีวิตส่วนตัวของใครบางคนหรือเปล่า ?

หรือ เป็นเพราะคุณต้องการจะพัฒนาตัวคุณเองขึ้นไปเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และ รับใช้ทวยเทพ ?

คุณเห็นความแตกต่างในมุมความคิดของตัวอย่างทั้งสองนี้ไหม ความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้าม เพราะความอยากรู้อยากเห็นนี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเสาะหาความรู้ และ เอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางจิตวิญญาณของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน ตราบเท่าที่มีเจตนาที่บริสุทธิ์และอยู่ในกรอบของศีลธรรม (Ethical)

แต่ละคำถาม คือ แต่ละขั้นของการพัฒนาทางความคิดและจิตใจของคุณ

Diane ได้ย้ำไว้สำหรับคุณทุกคน จงอย่าลืมว่า ทุก ๆ สิ่งที่คุณคิด ก็จะเกิดการ “สร้าง” ขึ้น และทุก ๆ สิ่งที่คุณ “สร้าง” ขึ้น ล้วนแล้วแต่มีผลพวงที่ตามมาเสมอ

Diane Stein
   

ด้วยเหตุที่กล่าวมา การที่จะพัฒนาจิตวิญญาณของคุณ คุณจะต้องถามเทพของคุณอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่คุณต้องการจะรู้ เทพจะตอบได้เฉพาะสิ่งที่คุณถามและจะตอบอยู่แค่นั้น และ เนื่องจากเพนดูลั่มให้คำตอบได้เพียง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” คุณก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างประโยคคำถามเพื่อที่จะให้คำตอบใช่/ไม่ใช่ ให้ข้อมูลข่าวสารต่อคุณให้มากที่สุด

จำไว้ว่าจงตั้งมั่น ด้วยใจเป็นกลาง ด้วยจิตที่โปร่งโล่งสบาย ในขณะที่คุณสร้างคำถามขึ้นในใจของคุณ และ อย่าลืมที่จะจับจ้องที่เพนดูลั่มจนกว่าคุณจะได้รับคำตอบของคุณ ส่วนที่เหลือก็เป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างประโยคคำถามแล้ว

การจะใช้เพนดูลั่มให้เกิดประสิทธิภาพนั้นคำถามของคุณจะต้องสั้นและง่าย ซึ่งอาจจะต้องใช้คำถามที่เป็น “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” หลายคำถามจนกว่าจะได้คำตอบสักคำตอบหนึ่ง

ในรูปแบบของการถามตอบตามปกติ คุณสามารถถามเทพธิดาของคุณว่า “เธอรักฉันไหม ? ” (และคำตอบที่ได้ก็คือ “ใช่” เสมอ) แต่คุณไม่สามารถถามเธอได้ว่า “ทำไมเธอจึงรักฉัน ? ” ไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องถามเธอด้วยคำถามหลาย ๆ คำถามที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของสาเหตุที่อาจจะทำให้เธอรักคุณ เช่น

“เพราะฉันเป็นคนดีใช่หรือไม่ ?” หรือ “เพราะว่าคุณรักทุกคนใช่หรือไม่ ? ” “เพราะฉันคู่ควรกับความรักของคุณใช่หรือไม ? ่”

ซึ่งคุณอาจจะได้คำตอบว่า “ใช่” จากคำถามทั้งหมดนี้ ซึ่งในที่สุดแล้ว คำตอบทั้งหมดนั้นก็อาจจะตอบ หรือ อาจจะไม่ตอบ คำถามตั้งต้นของคุณว่า “ทำไม” ก็ได้

คำถามที่สั้นนั้นง่ายที่สุด และโอกาสที่จะได้คำตอบแบบก้ำกึ่งก็น้อยด้วย

คุณควรระวังการใช้คำว่า “และ” กับ “หรือ” ในคำถามของคุณด้วย เช่น คำถามที่ว่า “สิ่งนี้คือนกโรบินหรือม็อคกิ้งเบิร์ด ?”

คำถามแบบนี้จะไม่ให้คำตอบที่ชัดเจนกับคุณได้ ดังนั้นให้ลองเปลี่ยนเป็นคำถามว่า “มันคือนกโรบิน ใช่หรือไม่ ?” และ “มันคือม็อคกิ้งเบิร์ด ใช่หรือไม่ ? ”

ถ้าคำตอบที่ได้คือ “ไม่ใช่” ทั้ง 2 ครั้ง ให้ถามซ้ำอีกว่า “ไม่ใช่ทั้งคู่ใช่หรือไม่ ? ”

ซึ่งถ้าไม่ใช่ทั้งคู่ก็ให้ถามชื่อนกชนิดอื่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะได้คำตอบที่ถูกต้อง

เมื่อไหร่ก็ตามที่มี “หรือ” กับ “และ” ในคำถาม ให้คุณแบ่งคำถามนั้นออกเป็น 2 คำถามอีกทีเหมือนตัวอย่าง จากนั้นให้ถามทีละคำถาม และ รอจนกว่าจะได้คำตอบจากคำถามแรกก่อน แล้วค่อยถามคำถามที่ 2 เพราะถ้าขณะที่คุณกำลังถามคำถามแรกอยู่แล้วคุณนึกไปถึงคำถามถัดไปด้วย อาจจะทำให้ได้คำตอบของคำถามที่ 2 แทนที่จะได้คำตอบของคำถามที่ 1

ดังนั้นจงทำจิตใจและความคิดให้ว่าง และ คิดถึงเฉพาะคำถามหรือเรื่องที่คุณกำลังถามอยู่เท่านั้น

อีกตัวอย่างของการตั้งคำถามที่ผิดคือ “ฉันควรจะซื้อสร้อยคอเส้นนี้ หรือ อีกเส้นหนึ่งดี ?” ซึ่งการถามที่ถูกต้องคือ “ฉันควรจะซื้อสร้อยคอเส้นนี้ใช่หรือไม่ ? ” และในขณะที่ถามก็ให้มองหรือ สัมผัสที่สร้อยไปด้วย เมื่อได้คำตอบแล้วก็ให้ถามคำถามต่อไปคือ “หรือว่าฉันควรจะซื้อสร้อยอีกเส้นใช่หรือไม่ ?” และ ก็ให้มอง หรือ สัมผัสสร้อยอีกเส้นขณะถามคำถามด้วยเช่นกัน

คำถามต่อจากนั้นอาจจะเป็น “มีสร้อยเส้นอื่นที่ไม่ใช่สองเส้นนี้ที่ฉันควรจะซื้อใช่หรือไม่ ?” หรือ “ถ้าฉันซื้อทั้งสองเส้นจะเป็นการดีที่สุดใช่หรือไม่ ?” หรือ “จะเป็นการดีที่สุดไหมถ้าฉันไม่ซื้อสร้อยทั้งสองเส้นนี้ ? ” โดยให้ตั้งใจให้แน่วแน่ในขณะที่ถามแต่ละคำถาม

คุณจะทวนคำถามซ้ำในใจก็ได้แต่ต้องไม่เปลี่ยนถ้อยคำไปจากเดิมเพราะนั่นอาจจะทำให้คำตอบเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยเช่นกัน

เกม 20 คำถามเป็นแบบฝึกหัดที่ดีในการที่จะหัดตั้งคำถามสำหรับถามเพนดูลั่ม

ในเกม 20 คำถาม หนึ่งคนต้องนึกถึงของอย่างหนึ่งไว้ในใจ และ ให้ผู้เล่นคนอื่นๆ ทายว่าของสิ่งนั้นคืออะไร โดยผู้เล่นทั้งหมดสามารถร่วมกันถามได้ไม่เกิน 20 คำถามที่เกี่ยวกับของสิ่งนั้น ซึ่งคนที่เดาถูกว่าสิ่งนั้นคืออะไรก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

ทั้งนี้คนตั้งโจทย์ต้องตอบแต่ความจริง และตอบได้เฉพาะ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เท่านั้น และ ถ้าถามครบ 20 คำถามแล้วไม่มีใครทายถูก เกมนั้นก็จบแบบไม่มีผู้ชนะ จากนั้นก็เริ่มเล่นใหม่

ลองเล่นเกมนี้สักสองสามรอบเกมนี้จะช่วยสอนคุณได้อย่างมากว่าถามเพนดูลั่มอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลมากที่สุด

ถ้าคุณถามเพนดูลั่มด้วยคำถามที่เอาจริง และ ถามอย่างเอางานเอาการ คุณจะได้รับคำตอบที่เหมาะสม

ถามเฉพาะสิ่งที่คุณต้องการจะทราบคำตอบจริง ๆ ถ้ามันเป็นคำถามที่คุณไม่ใส่ใจที่จะได้รับคำตอบนัก จะเดือดร้อนถามไปทำไม ?

การไม่ใส่ใจของคุณจะไม่ช่วยให้คุณได้รับคำตอบที่ถูกต้องเหมาะสม เทพของคุณจะไม่เข้าใจการเล่นตลก (ถึงแม้ว่าเทพ มักจะรักความสนุกสนาน และ ชอบที่จะทำอะไรสนุกสนานอยู่ตลอดเวลาก็ตาม) และ เธอก็จะไม่ให้ความสำคัญกับคำขอที่อาจจะเป็นการทำร้าย หรือ ยั่วเย้าคนอื่น ๆ แม้จะเป็นเพียงการล้อเล่นก็ตาม

อย่าลืมว่าสิ่งที่คุณถาม จะบ่งชี้ถึงระดับการพัฒนาทางจิตวิญญาณของคุณ

ถ้าคุณต้องการที่จะรู้อะไรบางอย่างด้วยความสัตย์ซื่อ โดยไม่เป็นการทำร้ายใคร และ ไม่รุกล้ำเข้าไปในความเป็นส่วนตัวของผู้ใด คุณก็ถามได้อย่างอิสระ และ เมื่อคุณมีประสบการณ์ในการตั้งคำถามที่มีความชัดเจนแล้ว ก็เท่ากับว่าคุณได้เรียนรู้วิธีการที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่คุณต้องการ

1, < อ่านหน้า > 3, 4


Free web counter